วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมาของผ้าไหม 

        ผ้าไหมไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการแต่งกายที่สืบสานกันมากว่า3,000ปีมาแล้วโดยมีแหล่งสำคัญอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและได้ขยายไปยังภาคเหนือตอนบนจนปัจจุบันได้แพร่กระจายไปทุกภูมิภาคของประเทศซึ่งมีความแตกต่างกันในลวดลายตามเชิงความคิดและวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงฟื้นฟูไหมไทย วัสดุธรรมชาติที่ทรงคุณค่าทางเศรษฐกิจคงไม่มีสิ่งใดเทียบเท่าเส้นใยไหมที่ทำให้ได้สิ่งทอที่สวยงามดังเช่นผ้าไหมไทยที่มี ความงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนมีชื่อเสียงลือไปทั่วโลก การผลิตไหมในประเทศไทยได้เริ่มพัฒนาขึ้น เมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคแห่งการฟื้นฟูส่งเสริมและพัฒนาการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม และทอผ้าไหม จนปัจจุบันการผลิตไหมในประเทศไทยเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชน
 

การทอผ้าไหมในประเทศไทยในอดีตมีการทำกันในครัวเรือนขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธี เช่น งานบุญ งานแต่งงาน 

            ชุมชนแห่งนี้เดิมเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายเขมรอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีความชำนาญใน การทอผ้าไหมซึ่ง จิม  ทอมป์สัน ได้เข้ามาสนับสนุนให้ชาวบ้านในชุมชนทอผ้าไหมสามารถสร้างรายให้ชาวบ้านมากขึ้น หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงผ้าไหมไทยโดยใช้หลักการตลาดการผลิตเพื่อขยายตลาดและทำการบุกเบิกผ้าไหมของ ไทยไปสู่ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่5)ได้ส่งเสริมให้ใช้ผ้าไหมส่วนการปลูกหม่อนเพื่อเลี้ยงไหมได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น หลังสงคราม โลกครั้งที่สอง ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของผ้าไหมไทยขึ้น โดย  เจมส์ แฮร์ริสัน วิสสัน ทอมป์สัน ชาวสหรัฐอเมริกา ได้ซื้อผ้าไหมไทยลวดลายต่างๆเก็บสะสมไว้และทำการศึกษาลวดลายผ้าไหมในหมู่บ้านที่เป็นแหล่งการผลิตผ้าไหมพร้อมกับเสาะแสวงหาช่างทอผ้าไหมฝีมือดีในที่สุดได้พบช่างมีฝีมือถูกใจที่กรุงเทพมหานครบริเวณชุมชนบ้านครัว (หลังโรงแรมเอเชียเขตราชเทวีในปัจจุบัน)
         ชุมชนแห่งนี้เดิมเป็นชาวมุสลิมเชื้อสายเขมร อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ตั้งแต่ตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีความ ชำนาญในการทอผ้าไหม ซึ่ง จิม ทอมป์สัน ได้เข้ามาสนับสนุนให้ชาวบ้านในชุมชนทอผ้าไหม สามารถสร้างรายให้ ชาวบ้านมากขึ้น หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงผ้าไหมไทยโดยใช้หลักการตลาด การผลิต เพื่อขยายตลาด และทำการบุกเบิกผ้าไหมของไทยไปสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น